การออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคในประเทศไทย ส่วนมากวิศวกรมักใช้ความรู้ความชำนาญหรือประสบการณ์จากการทำงานมาใช้ออกแบบ ซึ่งแตกต่างกับหลายประเทศที่มีมาตรฐานการออกแบบไว้ใช้สำหรับอ้างอิง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาตรฐานการออกแบบของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือที่เรียกว่ายูโรโค้ด 7 มาศึกษาและเปรียบเทียบกับแนวทางปฏิบัติที่ใช้ในประเทศไทย โดยเลือกตัวอย่างการออกแบบทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคคือ ฐานรากแผ่ ฐานรากเสาเข็ม และโครงสร้างกันดิน ทั้งนี้การออกแบบตามยูโรโค้ด 7 จะอ้างอิงวิธีสถานะขีดจำกัดประลัยและใช้แฟกเตอร์บางส่วนที่คำนึงถึงการใช้ค่าแรงกระทำ พามิเตอร์ และแรงต้านทานในการออกแบบ รวมถึงการใช้หลักการทางสถิติเพื่อประมวลผลค่าพารามิเตอร์สำหรับการออกแบบ ซึ่งต่างจากแนวทางปฏิบัติสำหรับการออกแบบในประเทศไทย ที่ส่วนมากยังนิยมใช้วิธีหน่วยแรงใช้งานในการออกแบบโดยอ้างอิงเฉพาะค่าแฟกเตอร์ความปลอดภัยเพียงอย่างเดียว
วิศวกรรมปฐพีและฐานราก
จากความรู้ในวิชาปฐพีกลศาสตร์ทําให้ได้ทราบถึงขบวนการกําเนิดของดิน คุณสมบัติพื้นฐานและ คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดิน (กําลังต้านทานแรงเฉือน การทรุดตัวและความซึมผ่านได้ของน้ำ) ก่อนที่จะ กล่าวถึงการออกแบบในงานวิศวกรรมปฐพีวิศวกรจําเป็นที่จะต้องทราบลักษณะชั้นดินที่แท้จริง และ ผลทดสอบดินทั้งในห้องปฏิบัติการและในสนามที่ความลึกต่างๆ สําหรับการก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ ดังนั้น การสำรวจชั้นดิน อย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างมาก
จุดมุ่งหมายของการเจาะสำรวจชั้นดินมีดังนี้
- เพื่อหาลักษณะชั้นดิน
- เพื่อเก็บตัวอย่างดินคงสภาพสําหรับหาคณสมบัติเชิงวิศวกรรมและตัวอย่างดินแปร สภาพสาหรับหาคุณสมบัติพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ
- เพื่อหาความลึกของชั้นดินแข็ ง
- เพื่ออทำการทดสอบในสนาม (In-situ tests) เช่น การทดสอบการซึมผ่านได้ของน้ํา การทดสอบกำลังตานทานแรงเฉือนโดยใช้ใบพัด(Vane shear test) และการทดสอบ ทะลุทะลวงมาตรฐาน (Standard penetration test) เป็นต้น
- เพื่อสังเกตสภาพการระบายนาของชั้นดิน
- เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในสนามโดยการสังเกตจากโครงสร้างที่อยู่ใกล้เคียง