บทที่ 3 ทิศทางและตำแหน่งยุทธศาสตร์
3.1 ยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
รูปภาพที่ 3-1 ทิศทางยุทธศาสตร์ ปี 2561-2570
3.1.1 แผนยุทธศาสตร์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2557-2566 (ทบทวนครั้งที่ 4 พ.ศ. 2561)

วิสัยทัศน์(Vision)
    กฟภ. เป็นองค์กรชั้นน าที่ทันสมัยในระดับภูมิภาค มุ่งมั่นให้บริการพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพเชื่อถือได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
ภารกิจ (Mission)
    จัดหาให้บริการพลังงานไฟฟ้า และดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจทั้งด้านคุณภาพและบริการ โดยการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความสามารถหลัก (Core Competency)
1) ความสามารถหลักขององค์กรในปัจจุบัน
o บริหารจัดการ และบริการระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าที่มีความครอบคลุม มีประสิทธิภาพมั่นคงปลอดภัย เชื่อถือได้
o การให้บริการระบบไฟฟ้าที่ครบวงจรอย่างมีมาตรฐานและความน่าเชื่อถือ
2) ความสามารถหลักขององค์กรในอนาคต
o ความสามารถในการดำเนินงาน และทักษะของบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในอนาคต
ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์(Strategic Challenge)
1) การจัดทำ Business Model เพิ่มศักยภาพบุคลากร รวมถึงระบบการบริหารการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในการรองรับธุรกิจหลัก และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง/ธุรกิจเสริม เพื่อรองรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป
2) การใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อแสวงหาโอกาสในการลงทุน
3) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
4) การสูญเสียรายได้จากผู้ประกอบการ/หน่วยงานราชการ รวมถึงภาคครัวเรือนที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง
(Prosumer)และลูกค้าที่มีมูลค่าสูงให้กับ SPP
5) ทิศทางของการส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน
6) การเตรียมความพร้อมของระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อลดผลกระทบจากพลังงานทดแทน
7) การเตรียมความพร้อมสู่ Digital Transformation และ Cyber Security
ความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์(Strategic Advantage)
1) ภาพลักษณ์ขององค์กรนำไปสู่ความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงาน
2) ประสิทธิภาพของระบบจำหน่าย เพื่อมุ่งสู่ผู้นำในระดับภูมิภาค
3) การใช้ประโยชน์จากพันธมิตรธุรกิจเพื่อแสวงหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
4) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสนับสนุนการด าเนินงานในระบบเครือข่ายและจำหน่ายไฟฟ้า
3.1.2 ยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการที่สำคัญ ประจำปี 2561
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ต่าง ๆที่สำคัญเพื่อการพัฒนาองค์กรจำนวน 11 ยุทธศาสตร์ ด้วยกัน ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 - มีการส่งเสริมใหองค์กร มีการเตบิโตอย่างยั่งยืนตามกรอบแนวทาง SDGs และแนว
ปฏิบัติที่ดีตามกรอบ DJSI  ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 - การให้ความสำคัญและตอบสนองต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 - มีการจำหน่ายไฟฟ้าที่ได้คุณภาพในระดับชั้นนาของภูมิภาค
ยุทธศาสตร์ที่ 4  - การบริหารและจัดสรรสินทรัพย์ และสร้างความมั่นคงทางการเงิน
ยุทธศาสตร์ที่ 5  - ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจและทิศทาง
องค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 6 - การสร้างความผูกพันกับลูกค้า
ยุทธศาสตร์ที่ 7 - แสวงหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 8 - ยกระดับการบริหารและศักยภาพของทุนมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 9 - ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ (Digital Transformation)
ยุทธศาสตร์ที่ 10 - เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยและมีเสถียรภาพของเทคโนโลยีดิจิทัล (Sustainableand Secured Digital Technology)
ยุทธศาสตร์ที่ 11 - ส่งเสริมและสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจหลักและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

3.2 แนวโน้มความต้องการไฟฟ้าในอนาคต
รูปภาพที่ 3-2 ค่าพลังไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทย
จากการคาดการณ์การค่าค่าพลังงานใช้ไฟฟ้าสูงสุดของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา ถึงการคาดการณ์การใช้ค่าพลังงานไฟฟ้า ปี 2572 พบว่า จะมีค่าความต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากปี พ.ศ 2554 ที่ประเทศต้องประสบกับมหาอุทกภัยทำให้ค่าความต้องการช่วงดังกล่าวมีการชะลอตัวลง แต่หลังจากนั้นด้วยความต้องการพัฒนาและเติบโตด้านเศรษฐกิจ ที่มีการสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆมากขึ้น ตลอดจนการขยายชุมชนเมืองออกเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความต้องการในด้านพลังไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นตามไป โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1,483 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16 ต่อปี อย่างไรก็ตามค่าปัจจุบันอาจมีการปรับลดลงเนื่องจากเป็นการคาดการณ์ที่ใช้ข้อมูลประกอบต่างๆในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งปัจจัยด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะแตกต่างกับช่วงเวลาปัจจุบัน
นักวิชาการท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า หลายปีที่ผ่านมา "อัตราการใช้ประโยชน์ (Utilization Rate)" ของโรงไฟฟ้าไทยต่ำลง อยู่ระหว่างร้อยละ 49-62 เนื่องจากมีกำลังผลิตล้นเกิน พร้อมทั้งแสดงความวิตกว่า "สถานการณ์ระบบไฟฟ้าไทยน่าห่วงยิ่งกว่า ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำหลังปี 2540 ซึ่งอัตราการใช้ประโยชน์ของโรงไฟฟ้าต่ำกว่าร้อยละ 50 นับเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าคิดวิเคราะห์ในหลายมิติ
แต่ก่อนกล่าวถึงสถานการณ์ของระบบไฟฟ้าไทย คงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อัตราการใช้ประโยชน์ของโรงไฟฟ้า หมายถึงอะไร
อัตราการใช้ประโยชน์ของโรงไฟฟ้า (Utilization factors ) คือ อัตราส่วนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจริง ณ เวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับการผลิตเต็มกำลังผลิตติดตั้ง (Installed Capacity) ควรทำความเข้าใจศัพท์อีกคำหนึ่งไปพร้อม ๆ กันด้วย คือ อัตราความสามารถในการผลิตไฟฟ้า (Capacity factors) ซึ่งหมายถึง อัตราส่วนความสามารถในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้จริง ณ เวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับการผลิตเต็มกำลังผลิตติดตั้ง

    ศัพท์เทคนิคทั้ง 2 คำ เกี่ยวข้องและแตกต่างกันอย่างไรนั้นยกตัวอย่างเช่น  โรงไฟฟ้าพลังความร้อนมีความสามารถผลิตไฟฟ้าได้ราว 300 วัน ในหนึ่งปี เพราะไม่สามารถเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตได้จริงตลอดเวลา และยังต้องมีการหยุดบำรุงรักษาทุกปี สามารถคำนวณ Capacity factors ได้เท่ากับร้อยละ 82 แต่หากไม่ถูกสั่งให้เดินเครื่องเต็มความสามารถ หรือมีการหยุดโรงไฟฟ้าฉุกเฉินกรณีใดก็ตาม โรงไฟฟ้านั้นก็จะมี Utilization factors ต่ำกว่าร้อยละ 82  ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าเฉพาะเวลาที่มีแสงแดด วันละ 4 - 5 ชั่วโมง รวมเวลาที่ผลิตเต็มกำลังการผลิต คิดเป็น 50 วันใน 1 ปี สามารถคำนวณ Capacity factors ได้เท่ากับร้อยละ 14 ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกรับซื้อหรือสามารถจ่ายไฟฟ้าให้แก่ระบบได้ทั้งหมด จึงมี Utilization factors เท่ากับ Capacity factors คือ ร้อยละ 14
ดังนั้น การใช้ประโยชน์ของโรงไฟฟ้า (Utilization factors) สูงหรือต่ำ จึงมาจากความสามารถในการผลิตไฟฟ้า (Capacity factors) ของโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความต้องการไฟฟ้าลดลง การไม่ถูกสั่งให้เดินเครื่อง ซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญต่ออัตราการใช้ประโยชน์ของโรงไฟฟ้า คือ โครงสร้างของระบบผลิตไฟฟ้า นโยบายพลังงานของประเทศและการวางแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้า

    ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบเดือนกันยายนเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เวลา 19.30 น. มีค่าเท่ากับ 27,500.30 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 525.80 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.95
ส่วนความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 เวลา 22.28 น. มีค่าเท่ากับ 29,618.80 เมกะวัตต์
กล่าวโดยสรุป อัตราการใช้ประโยชน์โรงไฟฟ้าของไทย อยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 55 - 60 แต่อาจเกิดความผันผวนในบางช่วงเวลา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม อัตราการใช้ประโยชน์โรงไฟฟ้าในระยะยาว ก็มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากโครงสร้างระบบผลิตไฟฟ้า ที่มีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นประเภทโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องไม่ต่อเนื่อง และไม่สามารถสั่งจ่ายไฟฟ้าตามความต้องการได้ (Non Dispatchable) ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าทั่วโลก ที่ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน
    สถานการณ์ระบบไฟฟ้าของไทยกำลังเดินบนทางสายกลาง โดยมีเป้าหมายสร้างความสมดุลทางพลังงาน ทั้งการสร้างความมั่นคง และยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นห่วง แต่สิ่งที่น่าห่วงมากกว่า คือ แผนพัฒนาพลังงานของประเทศจะประสบความสำเร็จ และเดินได้ตามเป้าหมาย มากน้อยเพียงใด


รูปภาพที่ 3-3 อัตราการใช้ประโยชน์ของโรงไฟฟ้า
รูปภาพที่ 3-4 ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าจำแนกตามประเภท
รูปภาพที่ 3-5 ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดรอบเดือนกันยายน 2560